13 พฤศจิกายน 2559

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่)



ประวัติ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จังหวัด พิษณุโลก

          หลายคนคงพอทราบแล้วว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) เป็นที่ ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย และมีคนนับถือมากมาย สำหรับ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) มีประวัติอันยาวนาน นับตั้งแต่สมัยสุโขทัย เพราะดูจาก มีสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม ต่างๆ แต่ยังไมมีหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มก่อสร้างตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่!! สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย และเป็นพระอารามหลวงมาแต่เดิม 

          ส่วนในพงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่า ” ในราวพุทธศักราช ๑๙๐๐ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก (พระมหาธรรมราชาลิไท) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย ทรงมีศรัทธาเลื่อหล่อพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์ เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทั้ง ๓ หลัง” 
          มใสในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์ศาสนาอื่น ๆ จนช่ำชองแตกฉาน หาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก พระองค์ได้ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ในฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน มีพระปรางค์อยู่กลาง มีพระวิหาร ๔ ทิศ มีพระระเบียง ๒ ชั้น และมีรับสั่งให้ปั้นหุ่นต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2458 ปัจจุบันจึงมีชื่อเต็มว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร 

พระวิหารหลวงประดิษฐานพระพุทธชินราช



          พระวิหารพระพุทธชินราช เป็นวิหารทรงโรง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช ซึ่งนับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งในโลก ตัวพระวิหารสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และได้รับการบูรณะให้มีสภาพดีมาตลอดจนถึงสมัยปัจจุบัน พระวิหารหลังนี้จึงเป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงสุโขทัยที่มีความสง่างามสมส่วน และยังคงสภาพสมบูรณ์ดีที่สุดแห่งหนึ่งของไทย 

บานประตูมุก 
          มีบานประตูประดับมุก 2 บานคู่ กว้าง 1 เมตร สูง 4.50 เมตร เป็นบานประตูประดับมุกโบราณที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่ง ตัวบานประตูมุกสร้างขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2299 สมัยพระเจ้าบรมโกศ และได้ทรงนำบานประตูไม้แกะสลักเดิมไปถวายเป็นบานประตูพระวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ ภายในวิหาร ประดิษฐาน พระพุทธชินราช หรือเรียกว่า “หลวงพ่อใหญ่” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย

พระพุทธชินราช




          พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริด ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยตอนปลาย หน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว สูง 7 ศอก หล่อในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) ซึ่งได้สร้างพระพุทธชินราช พร้อมกับพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ฐานชุกชีปั๊มเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย เดิมไม่ได้ลงรักปิดทอง ได้มีการปิดทองครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ คราวเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธชินราช เมื่อปี พ.ศ. 2146 
          พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปองค์ประธานของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทย เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นรูปเปลวเพลิง มีลักษณะพิเศษเรียกว่าทีฆงคุลี คือที่ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่นิ้วยาวเสมอกัน ซุ้มเรือนแก้วทำด้วยไม้แกะสลักสร้างในสมัยอยุธยา แกะสลักเป็นรูปมกร (ลำตัวคล้ายมังกรแต่มีงวงคล้ายช้าง) อยู่ตรงปลายซุ้ม และมีลำตัวเหรา (คล้ายจระเข้) อยู่ตรงกลางซุ้ม มีเทพอสุราปกป้องพระองค์อยู่สองตน คือ ท้าวเวสสุวัณ และอารวกยักษ์ 
          ในตำนานการสร้างพระพุทธชินราชกล่าวว่า พระพุทธชินราชสร้างในสมัยพระศรีธรรมไตรปิฎก ธาตุของพระพุทธเจ้า คือ ผม ได้สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โดยใช้ช่างจากเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองหริภุญชัย ในการเททองปรากฏว่าหล่อได้สำเร็จเพียงสององค์ ส่วนพระพุทธชินราชทองแล่นไม่ตลอด ต้องทำพิมพ์หล่อใหม่ถึงสามครั้ง ครั้งสุดท้ายพระอินทร์ได้แปลงกายเป็นชีปะขาวมาช่วยเททองหล่อ เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้นสองค่ำ เดือนหก ปีมะเส็ง จุลศักราช 717 จึงหล่อได้สำเร็จบริบูรณ์ 
          ปัจจุบันพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาได้ถูกอันเชิญไปประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ทางวัดจึงได้หล่อองค์จำลองขึ้นแทน 

พระเหลือ


          หลังจากสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดาแล้ว พระยาลิไทรับสั่งให้ช่างนำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือนำมารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดเล็ก หน้าตัก กว้าง 1 ศอกเศษ เรียกชื่อพระพุทธรูปนี้ว่า “พระเหลือ”เศษทองยังเหลืออยู่อีกจึงได้หล่อพระสาวกยืนอยู่ 2 องค์ ส่วนอิฐที่ก่อเตาสำหรับหลอมทองในการหล่อพระพุทธรูป นำมารวมกันบนชุกชี (ฐานชุกชี) พร้อมกับปลูกต้นมหาโพธิ์ 3 ต้นลงบนชุกชี เรียกว่า โพธิ์สามเส้า ระหว่างต้นโพธิ์ได้สร้างวิหารน้อยขึ้นมา 1 หลัง อัญเชิญพระเหลือกับสาวกเข้าไปประดิษฐานอยู่ เรียกว่า พระเหลือ 

พระปรางค์


          องค์พระปรางค์ตั้งอยู่ ณ ศูนย์กลางของวัด เป็นพระปรางค์ประธาน และเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดของวัด การก่อสร้างพระปรางค์ของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท) ได้ทำตามคตินิยมของหัวเมืองราชธานี ของอาณาจักรสุโขทัยในสมัยนั้น คือประสงค์ให้พระปรางค์เป็นหลักเป็นประธานของวัด และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ รูปแบบของพระปรางค์เมื่อเริ่มสร้างสันนิษฐานว่า เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม โดยสร้างครอบพระสถูปเจดีย์ที่สร้างในรัชสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถม เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นไป ครองราชย์ที่เมืองพิษณุโลก ได้โปรดให้บูรณะพระปรางค์โดยดัดแปลงพระเจดีย์ ได้ให้เป็นรูปแบบพระปรางค์แบบขอมตามพระราชนิยมในสมัยกรุงศรีอยุธยา

แผนที่



แหล่งที่มา : 1

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น